รู้หรือไม่?น้ำมันหล่อลื่นไม่ได้เหมือนกันทุกชนิด

น้ำมันเครื่องมีกี่ชนิด เลือกเกรดน้ำมันเครื่องแบบไหนดี

เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เกรดน้ำมันเครื่องนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพ และการใช้งาน

น้ำมันเครื่องมีกี่ชนิด เลือกเกรดน้ำมันเครื่องแบบไหนดี

เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เกรดน้ำมันเครื่องนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพ และการใช้งาน

 

1. น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic)

ถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องที่มีอายุการใช้งานสั้นที่สุด และราคาถูกที่สุด โดยผลิตมาจากน้ำมันปิโตรเลียมที่เหลือมาจากการกลั่น โดยสามารถใช้ได้ประมาณ 3,000 - 5,000 กิโลเมตร

 

2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic)

เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ มีอายุการใช้งานที่มากกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา โดยระยะถ่ายน้ำมันเครื่องอยู่ที่ 5,000 - 7,000 กิโลเมตร ถือว่าเป็นอีกประเภทน้ำมันเครื่องที่นิยมใช้กัน เพราะประสิทธิภาพการใช้งานที่คุ้มค่า ราคาอยู่ในระดับปานกลาง ไม่แพงมากจนเกินไป

 

 

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Full Synthetic)

เป็นน้ำมันเครื่องที่มีความพิถีพิถันมากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพในการหล่อลื่นได้ดีกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ โดยมีระยะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันจะอยู่ที่ 10,000-12,000 กิโลเมตร จุดเด่นก็คือช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ แต่ข้อเสียก็คือราคาแพงกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์

 

 

ควรเลือกน้ำมันเครื่อง แบบไหนดีกว่า?

มีหลายคนตั้งคำถามว่า น้ำมันเครื่องแบบไหนดีที่สุด คำตอบจริงๆ มันขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและการใช้งานเครื่องยนต์ของแต่ละคน หากต้องการใช้งานเครื่องยนต์ไปนานๆ เลือกน้ำมันเครื่องสังเคราะห์สบายใจกว่า แต่ต้องแลกกับราคาที่สูงกว่า

 

หรือหากใครที่ใช้งานรถยนต์เป็นประจำ หรือเป็นเครื่องจักรที่ใช้งานมานาน สามารถเลือกใช้เป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์แทนได้ แล้วไม่ว่าจะเป็นน้ำมันประเภทไหนๆ อย่าลืมดูเรื่องค่าความหนืดให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของคุณด้วยนะ

 

ยิ่งเลขมาก ยิ่งหนืดมาก!! หากเป็นครื่องยนต์เก่าหรือใช้งานมานาน อาจมีค่าความหนืด สูงถึง 40, 50 แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์รุ่นใหม่สามารถใช้ความหนืดน้อยๆ เช่น SAE 5W-30 เป็นต้น

คุณสมบัติน้ำมันเครื่องที่ดี

● น้ำมันเครื่องต้องมีความหนืด หรือข้นใสเหมาะกับการใช้งาน

● น้ำมันต้องมีการหล่อลื่นที่ดี

● มีคุณสมบัติในการชะล้างและป้องกันการสึกหรอ

● มีสารป้องกันสนิม ไม่ให้ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์พัง

● มีค่าความเป็นด่างที่เหมาะสม เพื่อทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันที่เผาไหม้ ป้องกันการกัดกร่อนและสนิม 

 

Visitors: 909,672