ไม่ตรวจคำรับรอง แต่ขายน้ำมันจะส่งผลอย่างไร

ไม่ตรวจคำรับรองตู้จ่ายน้ำมัน แต่ขายน้ำมันจะส่งผลอย่างไร?หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า "ตู้จ่ายน้ำมันจะต้องได้รับคำรับรองทุกตู้ หากนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์" ดังนั้นหากยังไม่ได้รับรองจะต้องศึกษาข้อปฎิบัติเหล่านี้ไว้ 

ตู้จ่ายน้ำมันตามสถานนีบริการถือว่าเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่ใช้ในการซื้อขายหรือแลกเปลื่ยนเพื่อคำนวณค่าตอบแทน จะต้อง “ได้รับการตรวจสอบ และ ได้รับคำรับรองของพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกกรณี” (มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)  

 ตรวจคำรับรองz

 
 

วิธีการสังเกต : คำรับรองของพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ “ตราครุฑ” ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตอก ประทับ ติดตรึง ไว้ที่ตู้จ่ายน้ำมันทุกตู้ เพื่อแสดงว่าตู้จ่ายน้ำมันนั้น ๆ ได้รับการตรวจสอบและรับรองว่า “ถูกต้อง” เพื่อป้องกันการแก้ไขดัดแปลงการเอาเปรียบคู่ค้า ประชาชนผู้บริโภค และได้ชำระค่าธรรมเนียมตามกฎหมายชั่งตวงวัดแล้ว 

ตรวจคำรับรองตู้จ่ายน้ำมัน 

คำถาม : ตราครุฑ ถูกต้อง ดูยังไง ?
คำตอบ : เครื่องหมายคำรับรอง คือ ตะกั่วประทับตราครุฑ ร้อยด้วยลวดทองแดงตีเกลียวยังไม่ชำรุดเสียหาย ฉีกขาด หรือถูกทำลาย เครื่องชั่งตวงวัดนั้นก็จะยังมีผลถูกต้องตามกฎหมาย   
คำเตือน 
กรณีการซื้อตู้จ่ายน้ำมันผ่านช่องทางออนไลน์ ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัด ถือว่าผิดกฎหมาย(หากนำไปใช้ในการขายน้ำมัน) ซึ่งผู้ซื้อควรจะสอบถามผู้ขายด้วยว่า “มีตราครุฑรับรองความถูกต้องจากหน่วยงานชั่งตวงวัดไหม” ถ้าไม่มี ก็ไม่ควรซื้อ และเป็นการสนับสนุนให้กระทำผิดกฎหมายข้อกฎหมาย  
มาตรา 25 ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากับผู้อื่น หรือการให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด หรือการใช้เครื่องชั่งตวงวัดเพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าตอบแทน ค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียม ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องชั่งตวงวัดที่ไม่มีการให้คำรับรองตามมาตรา 30 หรือที่คำรับรองสิ้นอายุแล้วตามมาตรา 33 ไม่ว่าจะเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้ยกเว้นการให้คำรับรองมาตรา 29 วรรคสอง หรือไม่ก็ตามรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องชั่งตวงวัดเพื่อให้ผู้ใช้เครื่องชั่งตวงวัดถือปฏิบัติ 

บทกำหนดโทษ
การใช้เครื่องชั่งตวงวัดที่ไม่ถูกต้องจะได้รับโทษตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ดังนี้
1. การใช้เครื่องชั่งตวงวัด ที่ไม่มีเครื่องหมายคำรับรอง หรือ คำรับรองสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดทำให้เครื่องชั่งตวงวัดที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักปริมาตร ปริมาณ หรือหน่วยใดใดผิดไปจากการที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 120,000 บาท ถึงจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 280,000 บาท   
 
Visitors: 911,296