ถังน้ำมันบนดิน VS ถังน้ำมันใต้ดิน ต่างกันอย่างไร?

การเลือกใช้ถังน้ำมันให้เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การจัดการเก็บน้ำมัน เป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สูง... 

สามารถแบ่งแยกได้ถึง 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ ถังน้ำมันบนดิน และ ถังน้ำมันใต้ดิน ที่มีลักษณะการติดตั้งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน




 
 
 

 ควรทราบถึงข้อแตกต่างระหว่าง ถังน้ำมันบนดิน และ ถังน้ำมันใต้ดิน  เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ 

 

1. ตำแหน่งในการติดตั้งถังน้ำมัน

เป็นความแตกต่างอันดับแรกที่เห็นชัดมากที่สุดระหว่างถังน้ำมันบนดินและถังน้ำมันใต้ดิน

ถังน้ำมันบนดิน : พื้นที่ติดตั้งบนพื้นผิวดิน ต้องมีเขื่อนกักเก็บน้ำมันกรณีรั่วไหล และ ต้องมีพื้นที่และระยะความปลอดภัย ที่เหมาะสมตามกฏหมายกำหนด

ถังน้ำมันใต้ดิน : พื้นที่ติดตั้งใต้พื้นผิวดิน ต้องฝังกลบด้วยทรายและ ต้องมีพื้นที่ และระยะความปลอดภัย ตามกฏหมายกำหนด

2. รูปแบบการติดตั้งและระยะเวลาในการติดตั้ง

ถังน้ำมันบนดิน : มีรูปแบบการติดตั้งที่ง่ายกว่าถังน้ำมันใต้ดิน และใช้ระยะเวลาในการติดตั้งน้อย เราสามารถเลือกขนาดถังน้ำมันบนดิน ตามที่ต้องการให้ตรงกับขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งได้ง่าย ขั้นตอนการติดตั้งถังน้ำมันบนดินก็ไม่ได้ซับซ้อน ส่วนสำคัญคือจำเป็นต้องจัดเตรียมความปลอดภัยรอบๆพื้นที่ ถังเก็บน้ำมันบนดินให้ได้มาตรฐานการใช้งาน ตามกฏหมายกำหนด

ถังน้ำมันใต้ดิน : มีขั้นตอนการติดตั้งที่ซับซ้อน ใช้อุปกรณ์มากกว่าถังน้ำมันบนดิน และใช้ระยะเวลาที่นานในการติดตั้ง ต้องขุดผิวดินเพื่อฝังตัวถังน้ำมันลงไปในบริเวณใต้ดินที่เราต้องการ ใช้เวลาในการเตรียมผิวดินที่ค่อนข้างนาน และต้องรองรับน้ำหนักในปริมาณมากๆ เพราะจำเป็นต้องเตรียมฐานรากของพื้นที่รองรับถังน้ำมันฝังดินให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

3. ความทนทานต่อการใช้งาน

ถังน้ำมันบนดิน : ปริมาณแสงแดดในแต่ละวัน สภาพอากาศที่แปรปรวนไม่แน่นอน ซึ่งอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลกระทบต่ออายุการใช้ งานของโครงสร้างถังน้ำมันบนดิน ต้องมีการป้องกันผิวของถังน้ำมันด้วยเคลือบผนังถังด้วยสีที่มีคุณภาพ จึงยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น

ถังน้ำมันใต้ดิน : อุณหภูมิค่อนข้างคงที่ ปลอดภัยในเรื่องของอันตรายที่เกิดจากประกายไฟ แต่ก็ต้องเสี่ยงเรื่องระดับน้ำใต้ดิน หรือน้ำท่วมเกิดผลกระทบต่ออายุการใช้งานของถังได้ รวมถังการรั่วของน้ำมันไปในชั้นผิวดิน ดังนั้น จะต้องถูกออกแบบ ตั้งแต่การผลิต และการติดตั้งให้ได้มาตรฐาน ถึงจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

4. การบำรุงรักษา

เมื่อใช้ถังน้ำมันไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาทั้งถังน้ำมันบนดินและถังน้ำมันใต้ดินทั้งคู่

ถังน้ำมันบนดิน : การบำรุงรักษาที่ง่ายกว่าถังน้ำมันใต้ดิน สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างถังน้ำมันได้อย่างง่ายดาย มองด้วยตาเปล่า อีกทั้งยังตรวจเช็กบริเวณระบบท่อหรือปั๊มต่างๆได้ง่ายเช่นเดียวกัน

ถังน้ำมันใต้ดิน : การบำรุงรักษาที่ยากกว่า เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างเข้าถึงเหมือนถังน้ำมันบนดิน การตรวจสอบบริเวณท่อที่ชำรุดยังทำได้ยากกว่าถังน้ำมันบนดิน ต้องใช้เครื่องมือ และขั้นตอนที่ซับซ้อน หากเปรียบเทียบราคาในการซ่อมบำรุง การบำรุงถังน้ำมันใต้ดิน จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง

5. ชนิดของน้ำมันที่บรรจุ

ถังน้ำมันบนดิน : บรรจุน้ำมันที่มีความไวไฟระดับน้อยถึงปานกลาง ได้เท่านั้น เช่น น้ำมันดีเซล, น้ำมันเตา, น้ำมันหล่อลื่นเป็นต้น

ถังน้ำมันใต้ดิน : บรรจุน้ำมันที่มีความไวระดับน้อยถึงปานกลาง และน้ำมันที่มีความไวไฟสูง ได้ทุกชนิดน้ำมันโดยเฉพาะ น้ำมันเบนซิน ที่มีปริมาณมาก

ตามที่กฎหมายได้กำหนด หากน้ำมันที่บรรจุในถัง เกิน 454 ลิตร ต้องฝังถังน้ำมันลงใต้ดิน  

6. ค่าใช้จ่าย

ถังน้ำมันบนดิน : จะมีราคาถังน้ำมัน ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและค่าบำรุงรักษาที่ไม่สูง เมื่อเทียบกับถังน้ำมันใต้ดิน เพราะใช้วัสดุอุปกรณ์ น้อยกว่า การบำรุงรักษาสามารถ ตรวจสอบสามารถทำได้ง่าย จึงมีค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบกับ ถังน้ำมันใต้ดิน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ใช้เก็บน้ำมันชนิด ไวไฟน้อย หรือปานกลาง ก็สามารถใช้ได้

ถังน้ำมันใต้ดิน : จะมีราคาถังน้ำมัน ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาที่สูงกว่า ถังน้ำมันบนดิน เนื่องจาก วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต รวมถึงขั้นตอนการผลิต ที่ซับซ้อนกว่า ถังน้ำมันบนดิน การดำเนินการต้องใช้ช่างผู้ดำเนินการโดยเฉพาะ โดยเฉพาะในขั้นตอนการบำรุงรักษา ต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะเป็นพื้นที่อับอากาศ อันตรายค่อนข้างสูง จึงมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็ต้องพิจจารณาในด้านข้อกฏหมายในการใช้งาน ในปัจจุบันโดยเฉพาะสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่กฏหมายจะบังคับให้ใช้ ถังน้ำมันใต้ดินผนังสองชั้นในการเก็บน้ำมันเท่านั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ในการใช้งาน ผู้ประกอบการคงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจ

 
        จะเห็นได้ว่า ถังน้ำมันบนดินและถังน้ำมันใต้ดิน มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในเรื่องของการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งหากจะเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของถังน้ำมันทั้งสองประเภท เราจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของลักษณะพื้นที่ในการใช้งานของเราเป็นที่สำคัญ เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าลักษณะการใช้งานของเรานั้นเหมาะสมกับถังน้ำมันประเภทไหนมากกว่ากัน ดังนั้นผู้ประกอบลองพิจารณาดูว่า ถังน้ำมันแบบใดเหมาะสมกับการใช้งานในกิจการ
 
 ถังน้ำมันดีเซล / ถังน้ำมันเตาMobile Tanks/  Day Tanksถังน้ำมันทัสพาว 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 914,832