ขออนุญาตเก็บน้ำมัน ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการที่อยากจะวางแผนการมีน้ำมัน ซึ่งแน่นอนว่าน้ำมันนั้นเป็นวัตถุไวไฟ หรืออันตรายอย่างมาก ทางกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน จึงต้องมีการออกข้อกฏหมายเพื่อควบคุมการครอบครอบน้ำมันโดยจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ร้านจำหน่ายน้ำมันขนาดย่อย โรงงานขนาดเล็ก หรือเพื่อการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งทั้งสามลักษณะนี้จะมีการแบ่งประเภทการขอน้ำมันที่แตกต่างกัน และแบ่งลักษณะตามการกักเก็บน้ำมัน ซึ่งวันนี้เราจะพาไปดูขั้นตอนการขออนุญาตเก็บน้ำมัน และเอกสารต่างๆที่ต้องเตรียมไปยื่นให้กับกระทรวงพลังงาน

ขออนุญาตเก็บน้ำมัน ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

 

 

ปริมาณของน้ำมันที่ต้องขออนุญาต

ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น การควบคุมน้ำมันนั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ โดยทั้งสามนั้นแตกต่างกันที่ปริมาณของน้ำมันที่กักเก็บเอาไว้ เพราะฉนั้นคุณต้องรู้ก่อนว่า น้ำมันที่คุณจะนำมาใช้นั้นจะอยู่ปริมาณเท่าไร หรือก็คือขนาดของถังเก็บน้ำมันนั้นเอง

  • ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดย่อย ประกอบด้วย นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีประมาณไม่เกิน 40 ลิตร หรือชนิดไวไฟ ปานกลาง มีปริมาณไม่เกิน 227 ลิตร หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร

  • โรงงานขนาดเล็กหรือเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณเกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1000 ลิตร หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15000 ลิตร

  • โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ประกอบด้วย นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 454 ลิตรขึ้นไป หรือชนิดไวไฟ ปานกลาง มีปริมาณเกิน 1000  ลิตรขึ้นไป หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 15,000 ลิตรขึ้นไป แต่ปริมาณทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 ลิตร

ดังนั้นเราควรตรวจน้ำมันที่เราจะกักเก็บและเทียบกับลักษณะดังที่กล่าวมา เพื่อให้การขออนุญาตถูกต้องตามที่ข้อกฏหมายกำหนด

 

 

ขั้นตอนการขออนุญาต

เมื่อเรารู้ปริมาณน้ำมันของเราแล้ว แล้วเราจะไปอนุญาตที่ไหน กับใครบ้าง ขั้นตอนมีดังนี้ ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน หรือหากอยู่ในเขตจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานพลังงานภูมิภาค

 

 

 

เอกสารที่ต้องใช้

เมื่อเรารู้ปริมาณของน้ำมันที่เราจะขออนุญาตกักเก็บและสถานที่ที่จะต้องไปติดต่อแล้ว ต่อไปต้องไปเตรียมเอกสารต่างๆในการขออนุญาต เอกสารที่จำเป็นต้องเตรียมมีดังนี้

     (1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนของผู้แจ้ง (กรณีบุคคลธรรมดา)

     (2) หนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนารายละเอียดวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้แจ้ง)

     (3) สำเนาหนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของบุคคลหรือนิติบุคคลผู้แจ้ง (กรณีตัวแทนของบุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้แจ้ง)

     (4) สำเนาหรือภาพถ่าย โฉนดที่ดิน น.ส.3    น.ส.3ก ส.ค.1

     (5) สำเนาเอกสารแสดงว่าผู้แจ้งมีสิทธิใช้ที่ดินหรือหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน

     (6) สำเนาหนังสืออนุญาตพร้อมด้วยสำเนาแผนผังบริเวณที่ได้อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตทำทางเชื่อมระหว่างบริเวณที่ได้รับอนุญาตกับถนนสาธารณะ ทางหลวง หรือถนนส่วนบุคคล เพื่อใช้เป็นทางสำหรับยานพาหนะเข้า-ออกสถานที่บริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่หนึ่ง เพื่อการจำหน่ายหรือขายหรือสำเนาหนังสืออนุญาต พร้อมด้วยสำเนาแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ จากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลและรับผิดชอบถนนสาธารณะ ทางหลวง ถนน ส่วนบุคคล หรือลำน้ำสายนั้น

     (7) แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ประกอบกิจการ พร้อมทั้งแสดงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในรัศมี 50 เมตร    จำนวน 3 ชุด

     (8) แผนผังบริเวณของสถานที่ประกอบกิจการ จำนวน 3 ชุด

     (9) แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ พร้อม ระบบท่อและอุปกรณ์ จำนวน 3 ชุด

     (10) รายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือ พื้นดินขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด

     (11) หนังสือรับรองจากวิศวกรสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้คำนวณความ มั่นคง แข็งแรง ระบบความปลอดภัย และระบบควบคุมมลพิษของ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ    และเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม พร้อมทั้งแนบภาพถ่ายใบอนุญาต

ทัสพาวมีอุปกรณ์มากมายที่ได้มาตรฐานตามกฏหมาย สามารถขออนุญาตได้ง่าย

สนใจปรึกษาการเก็บน้ำมัน ฟรี

ขอบคุณแหล่งอ้างอิง https://energy.go.th/

 

 

Visitors: 909,879