เลือกตู้จ่ายน้ำมัน แบบไหนเหมาะกับธุรกิจคุณ

สำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องการใช้น้ำมันเติมเองในกิจการ ต้องการเลือกตู้จ่ายน้ำมัน มาไว้ใช้ในการเติมน้ำมันของตนเอง ไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหนดี ทัสพาวเพื่อนรู้ใจคนใช้น้ำมัน มีข้อพิจารณาของผู้ประกอบการมานำเสนอเพื่อการประกอบการตัดสินใจ

ตู้จ่ายน้ำมัน มีหน้าที่ทำอะไร
1.ใช้นำส่งน้ำมันจากถังบรรจุน้ำมัน ไปใช้ หรือ เติมน้ำมันให้กับรถยนต์ และเครื่องจักรต่างๆ
2.แสดงผลจำนวนน้ำมันที่นำไปใช้ ให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเรา ใช้ไปจำนวนเท่าไร
3.ควบคุมการจ่ายน้ำมันในการเติมน้ำมัน

ตู้จ่ายน้ำมันมีกี่แบบ

แบ่งประเภทตามระบบไฟฟ้าที่ใช้

 

1.ตู้จ่ายน้ำมัน ระบบไฟกระแสสลับ AC 220/380 V เป็นตู้จ่ายน้ำมันที่ใช้แหล่งจ่ายไฟเป็นระบบไฟฟ้า AC ไฟกระแสสลับ
ยกตัวอย่าง เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน ST-56/72, ตู้จ่ายน้ำมัน SSMC 70, ตู้จ่ายน้ำมัน B.SMART เป็นต้น

การใช้งาน ใช้ได้กับสถานที่ ที่มีไฟฟ้ากระแสสลับ AC เท่านั้น


ข้อดี      -ใช้งานได้ต่อเนื่องได้
            -อัตราการไหลของการจ่ายน้ำมันคงที่ ทำได้รวดเร็ว
            -มีให้เลือกการใช้งาน ได้หลากหลายรุ่น

ข้อด้อย -ต้องเป็นสถานที่ที่มีไฟฟ้ากระแสสลับ
              -ต้องติดตั้งอยู่กับที่ เคลื่อนย้ายไม่สะดวก

2.ตู้จ่ายน้ำมัน ระบบไฟกระแสตรง DC 12/24 V เป็นตู้จ่ายน้ำมันที่ใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสตรง DC หรือที่เรียกว่า "ไช้ไฟแบตเตอรี่รถยนต์12 หรือ 24 โวตล์ ยกตัวอย่าง เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน ST-CARRY 12V, ตู้จ่ายน้ำมัน ST-BIPUMP 24 V, ตู้จ่ายน้ำมัน CUBE DC 12 V เป็นต้น

การใช้งาน ใช้ได้กับสถานที่ ที่ไม่มีไฟฟ้ากระแสสลับ AC แต่มี ไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์ สำหรับหน้างานที่ไม่มีไฟฟ้า

ข้อดี      -ใช้งานได้ในที่ ที่ไม่ไม่ไฟฟ้า แต่ต้องการเติมน้ำมันหน้างาน
             -รถยนต์หรือเครื่องจักรไม่ต้องเคลื่อนย้าย ไม่เสียเวลางาน

ข้อด้อย -การใช้งานต่อเนื่องไม่ได้ ต้องพักการเติม เพราะกระแสไฟไม่คงที่ ตามปริมาณแรงดันไฟฟ้าในแบตเตอรี่
            -รอบการใช้งาน ไม่เกิน 30 นาทีต่อการเติมน้ำมัน
            -ไม่สามารถเติมน้ำมันได้ในปริมาณมากได้

แบ่งตามประเภทของมิเตอร์วัดน้ำมัน

1.ตู้จ่ายน้ำมันระบบแมคคานิค (Mechanical) กลไกเป็นระบบเฟืองขับตัวเลขแสดงผลการเติมน้ำมัน ยกตัวอย่าง เช่น           ตู้จ่ายน้ำมัน ST-56/K33,ตู้จ่ายน้ำมันST-CARRY/K33

การใช้งาน ใช้เติมน้ำมัน ให้กับรถยนต์ หรือ เครื่องจักรภายในกิจการ โดยต้องการดูยอดการเติมน้ำมันแต่ละวัน โดยอาศัยมีพนักงานเติมน้ำมันให้กับรถยนต์ และ ต้องจดบันทึกเลขรวมลิตรในแต่ละวัน เพื่อมาสรุปยอดการใช้น้ำมัน

ข้อดี     -ระบบการใช้งานไม่ซับซ้อน
            -ราคาไม่สูง
            -การใช้งานคงทน
            -การติดตั้งง่าย


ข้อด้อย  -ความเที่ยง (Accuracy +/- )ของการจ่ายน้ำมันตรงน้อยกว่าตู้จ่ายนระบบดิจิตอล การปรับค่าค่อนข้างซับซ้อน
             -ดูข้อมูลการเติมน้ำมันในแต่ละครั้งไม่ได้ ต้องใช้ระบบการจดจาก เลขรวมลิตรทั้งหมดเท่านั้น
             -ไม่ทราบว่าผู้ใด เป็นคนเติมน้ำมัน
             -ไม่ทราบเวลาในการเติมน้ำมัน

2.ตู้จ่ายน้ำมันระบบดิจิตอล (DIGITAL) กลไกใช้ระบบเซ็นต์เซอร์เป็นตัววัดปริมาณการจ่ายน้ำมัน และกำหนดการเติมน้ำมันผ่าน พรีเซ็ท (Preset)แสดงผลจำนวนการเติมน้ำมันผ่านหน้าจอดิสเพลย์ (Display) ยกตัวอย่าง เช่น ST-CARRY/K600 , ตู้จ่ายน้ำมัน SSMC 70

การใช้งาน ใช้เติมน้ำมัน ให้กับรถยนต์ หรือ เครื่องจักรภายในกิจการ โดยต้องการควบคุมการเติมน้ำมันที่มีประสิทธภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะ ผู้ที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก และมีผู้ใช้หลายคน คนขับรถปริมาณมากต้องการ การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

ข้อดี     -ระบบมีความเที่ยงตรงของจ่ายน้ำมัน Accuracy +/- สูงกว่าระบบแมคคานิค การปรับน้ำมัน คาริเบทน้ำมัน                  (Caribration)ทำได้ง่ายด้วยการปรับค่า K-Factor
            -กำหนดการเติมเป็นจำนวนที่ต้องการได้
            -ป้องกันการเติมน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตได้
            -ควบคุมสต๊อคน้ำมันได้ดีกว่าระบบแมคคานิค
            -ทราบว่าผู้ใด เป็นคนเติมน้ำมัน
            -ทราบเวลาในการเติมน้ำมัน
            -ทราบเลขทะเบียนรถยนต์
            -ออกรายงานการใช้น้ำมัน รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี ได้
             -มีระบบส่งข้อมูลผ่าน สัญญาณอินเตอร์เน็ต ไวไฟ และ ระบบคลาวด์ ได้
             -มีรุ่นให้เลือกหลากหลาย

ข้อด้อย -ระบบซับซ้อนกว่าระบบแมคคานิค
            -ราคาสูง กว่าระบบแมคคานิค
            -การติดตั้งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการ

ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเลือกตู้จ่ายน้ำมัน คราวๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของทุกท่าน นำไปใช้งานในกิจการ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ทางเรายินดีให้บริการสอบถามเข้ามาได้

 

Visitors: 683,761